<aside> 💡 บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์ปัญหาจำนวนการเกิดที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปีค.ศ. 2012-2022 ซึ่งพิจารณาจากค่าครองชีพและรายได้ในปี 2021 โดยมีแหล่งที่มาของข้อมูลจาก data.go.th

</aside>

March 22, 2023

WISANU SIMALAI

Data Preparation

1.png

Dashboard

Dashboard3.png

Introduction of Thailand Population Trend

ในปัจจุบัน ประชากรของไทยเปลี่ยนแปลงมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ด้วยสาเหตุจากโควิด-19 ทำให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก และนอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้คนรุ่นใหม่ตัดสินใจที่จะไม่มีลูก ดังนี้

Untitled

Credit : https://thematter.co/brief/brief-1594890002/117709

ซึ่งยังอาจรวมไปถึงการย้ายไปทำงานในต่างประเทศ นี่อาจเป็นผลกระทบระยะยาวที่ทำให้ไทยเจอกับปัญหาไม่มีแรงงานที่เพียงพอต่อตลาด

และจากคำถามที่ว่า ในอนาคตประเทศไทยมีแนวโนมประชากรเป็นอย่างไร เราจึงได้นำข้อมูลสถิติประชากรมาจัดทำเป็น Dashboard เพื่อศึกษารายละเอียดเชิงลึกตามแต่ละพื้นที่และภูมิภาค นำไปสู่การเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

แนวโน้มการเกิดและการตายของประชากรไทยในปี 2012 - 2022

แนวโน้มการเกิดและการตายของประชากรไทยในปี 2012 - 2022

จากกราฟที่แสดงแนวโน้มของจำนวนเด็กที่เกิดใหม่ พบว่ามีจำนวนลดลงเรื่อยๆ ในปี 2012 มีจำนวนเด็กเกิดใหม่ทั้งหมด 818,975 คน ลดลงเหลือเพียง 502,107 คนในปี 2022 นี้ ซึ่งหมายความว่าจำนวนเด็กที่เกิดใหม่ลดลงถึง 38.69% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน อัตราการตายกลับก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความเสี่ยงว่าในอนาคต 10-20 ปีข้างหน้าจะเกิดปัญหาความขาดแคลนแรงงานอย่างมาก

Population by Province

จำนวนประชากรจำแนกตามพื้นที่ของแต่ละจังหวัด

จำนวนประชากรจำแนกตามพื้นที่ของแต่ละจังหวัด

จากแผนภูมิแผนที่แสดงว่า จังหวัดกรุงเทพฯ มีประชากรสูงสุดเฉลี่ยตลอดระยะเวลา 10 ปี อยู่ที่ 5,642,875 คน ซึ่งคิดเป็น 8.58% ของทั้งประเทศ ในขณะที่จังหวัดระนอง มีประชากรต่ำสุดที่ 188,183 คน ซึ่งคิดเป็น 0.29% ของทั้งประเทศ

นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวโน้มของประชากรซึ่งพบว่าบางจังหวัดได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เช่นกรุงเทพฯ, นครราชสีมา และนครศรีธรรมราช ในขณะที่บางจังหวัดกลับไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าวเช่น เชียงใหม่, กาญจนบุรี และปทุมธานี ซึ่งสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรในช่วงปี 2019-2020 อะไรเป็นสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้จังหวัดบางกลุ่มถึงไม่ได้รับผลกระทบนั้น ผมได้ตั้งสมมุติฐานไว้ 3 อย่างคือ

  1. รายได้ต่อครัวเรือนในจังหวัดนั้นพอเพียงต่อค่าใช้จ่าย
  2. มีโรงพยาบาลที่เพียงพอ
  3. อัตราเด็กเกิดใหม่สูงกว่าอัตราการเสียชีวิต

ข้อมูลและแนวโน้มประชากรของกรุงเทพฯ ซึ่งมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็วในปี 2019

ข้อมูลและแนวโน้มประชากรของกรุงเทพฯ ซึ่งมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็วในปี 2019

ข้อมูลและแนวโน้มประชากรของเชียงใหม่ ซึ่งมีจำนวนคงทีตั้งแต่ ปี 2019

ข้อมูลและแนวโน้มประชากรของเชียงใหม่ ซึ่งมีจำนวนคงทีตั้งแต่ ปี 2019

Top and Bottom 5 Province of Birth, Household Income, and Household Expense

จังหวัดที่มีจำนวนการเกิด, รายได้ต่อครัวเรือนและ รายจ่ายต่อครัวเรือน สูงสุดและต่ำสุด 5 อันดับ

จังหวัดที่มีจำนวนการเกิด, รายได้ต่อครัวเรือนและ รายจ่ายต่อครัวเรือน สูงสุดและต่ำสุด 5 อันดับ

ถ้าเราจัดอันดับจำนวนเด็กเกิดใหม่ รายได้และรายจ่ายต่อครัวเรือนของทั้งประเทศในปี 2021 จะพบว่า จังหวัดกรุงเทพฯเป็นจังหวัดที่มีจำนวนเด็กเกิดใหม่สูงสุด มีจำนวน 61,604 คน หรือประมาณ 11.31% ของทั้งประเทศ ในขณะที่จังหวัดสมุทรสงครามมีเพียง 843 คน หรือประมาณ 0.15% ของทั้งประเทศ สำหรับสมมุติฐานว่าสาเหตุที่ทำให้คนตัดสินใจมีลูกคือมีรายได้สูงหรือค่าใช้จ่ายต่ำ อาจจะเป็นจริงเฉพาะในบางจังหวัดเท่านั้น คุณสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน Dashboard

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเรื่องของรายได้และค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือน ย่อมอาจเป็นปัจจัยที่จะทำให้ผู้คนตัดสินใจที่จะมีหรือไม่มีลูกได้เช่นกัน โดยหากพิจารณาที่จังหวัดนนทบุรี แม้ว่าเป็นจังหวัดที่มีรายได้ต่อครัวเรือนสูงสุดแต่ก็มีค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนสูงสุดเช่นเดียวกัน อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ไม่อยู่ใน 5 อันดับจังหวัดที่มีจำนวนการเกิดสูงสุด เราจึงทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการเกิดและรายได้ต่อครัวเรือนเพิ่มเติม

Birth/Income Ratio